
การติดตั้งกระเบื้องปูพื้น เอสซีจี สำหรับการใช้งานประเภทต่างๆ
สามารถทำได้ 3 วิธี ดังนี้
กรณีที่ 1 พื้นทางเท้าทั่วไป เช่น สวนในบ้าน สามารถปูใด้ 2 ลักษณะ คือ ปูบนพื้นดินเติมบดอัดแน่น ปรับระดับด้วยทรายบดอัดแน่น หรือปูบนพื้น คอนกรีตหยาบ ปรับระดับด้วยปูนทราย
กรณีที่ 2 พื้นทางเท้าที่ต้องรับน้ำหนัก เช่น ทางเท้าริมถนน ทางเดินในสวน ฯลฯ ควรปูฟื้นบนพื้นคอนกรีดหยาบ ปรับระดับตัวยปูนทราย (หนา 2-3 ซม.)
กรณีที่ 3 พื้นที่ที่ต้องรับน้ำหนักมาก เช่น พี่จอดรถ ลานเอนกประสงค์ ฯลฯ ควรปูบนพื้นตอนกรีตเสริมเหล็ก ปรับระดับตัวยปูนทราย (หนา 2-3 ชม)



วิธีการติดตั้งกระเบื้องปูพื้น เอสซีจี (สำหรับที่จอดรถ)
1. การเตรียมพื้นที่สำหรับงานปูแผ่นกระเบื้อง
1.1 เครื่องมือที่ใช้ในการปู ที่สำคัญ คือ
– สายเอ็น สายยางถ่ายระดับ ตลับเมตร
– ค้อนยาง ค้อนเหล็ก เกรียงเหล็ก เกรียงไม้
– จอบ พลั่ว รถเข็น บุ้งกี๋ ไม้กวาด
– ฟองน้ำ ถังน้ำ กระบะผสมปูน

2. ขั้นตอนการปูที่ถูกต้อง
1.2 พื้นที่ในการปู
– สะดวกในการทำงานไม่มีสิ่งกีดขวาง และไม่มีการทำงานของผู้รับเหมารายอื่น
– สะอาดไม่มีขยะ และเศษวัสดุอื่นติดที่พื้นโครงสร้าง
– พื้นที่ปูต้องเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก และรอให้คอนกรีตเสริมเหล็กแข็งตัวก่อน
(ในกรณีที่พื้นเดิมเป็นพื้นคอนกรีตอยู่แล้วให้ปฏิบัติตามขั้นตอน 2.1 ได้เลย)

2.1 กำหนดจุดเริ่มตัน และระดับสุดท้าย
– กำหนดจุดเริ่มตันการปู โดยยึดว่าง Line ที่ผู้ออกแบบกำหนดเป็นเกณฑ์
– กำหนดระดับสุดท้าย โดยทำระดับฝากไว้ที่ที่มั่นคงไม่เคลื่อนย้าย เช่น ผนัง เสา หรืออื่น ๆ
– ใช้เส้นเอ็นตึงจากระดับที่กำหนดไว้ให้ได้ฉากระหว่างแนวตั้งกับแนวนอน

2.2 การปูแผ่น
– เริ่มปูแผ่นแรกตรงจุดที่กำหนดตามแนวเส้นเย็นที่ทำมุมฉากไว้ โดยการปูกระเบื้อง ให้ปูบนปูนทราย (Mortar) หนาประมาณ 2-3 ซม. แล้วปรับระดับและระนาบของกระเบื้อง ทัตรงตามแบบทางสถาปัตย์
– ปูแผ่นต่อไป โดยปูชนชิดไม่เวันร่องตามแนวเส้นเอ็นทั้งแนวตั้งและแนวนอนเพื่อใช้เป็นแนวทลัก
– ปูแผ่นสิ้นสุดที่แผ่นเต็มในส่วนที่ปูได้ ส่วนที่ไม่เต็มแผ่นให้รอการตัดเศษทิ้ง ตัดเศษปูต่อ เพื่อให้งานเรียบร้อย
– ตรวจสอบระยะทุก ๆ แนวในการปู
– ปล่อยทิ้งไว้อย่างน้อย 24 – 72 ชม.

2.3 การตัดเศษ
– วัดจากพื้นที่จริง โดยวัดทั้งหัวแผ่น ท้ายแผ่น และทำเส้นกำหนดไว้บนแผ่น
– การตัดเศษให้ตัดใกล้เส้นที่กำหนด
– การปูแผ่นเศษ ควรปูให้ชิดกับผนัง เสาหรือแนวขอบมากที่สุด ไม่ควรเกิน 3-5 มม.
– วัดขนาดของแผ่นที่ต้องการตัดจากพื้นที่จริง
– ตัดเศษตามขนาดที่วัดไว้

ข้อควรระวัง
1. ควรระวังเรื่องน้ำปูนเปื้อนบริเวณผิวหนัา เนื่องจากจะทำให้น้ำปูนเกาะติด และแก้ไขได้ยาก หากมีน้ำปูนเปื้อนให้รีบเช็ดออกด้วยฟองน้ำทันที
2. เพื่อป้องกันปัญหาคราบสกปรกจากระบบงานอื่นๆ เช่น งานสี งานปูน งานดิน ฯลฯ ควรปูกระเบื้องปูพื้น เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำงานก่อสร้าง
3. ห้ามปูในลักษณะที่มีปูนทรายรองใต้แผ่นแบบเป็นก้อนๆ (ปูแบบซาลาเปา) เพราะจะทำให้เกิดการแตกร้าวขึ้นขณะใช้งาน ดังนั้นต้องใช้ปูนทรายรองเต็มแผ่นในการปู
4. เนื่องจากสินค้าติดตั้งในลักษณะปูชนชิดไม่เว้นร่อง ดังนั้นไม่ต้องทำการยาแนวใด ๆ ทั้งสิ้น
ข้อแนะนำ และการดูแลรักษากระเบื้องปูพื้น เอสซีจี
1. ควรทำความสะอาดแผ่นกระเบื้องซีเมนต์เป็นประจำด้วยน้ำเปล่า หรืออาจผสมผงชักผ้าเล็กน้อยในการล้างคราบสกปรก
2. หากต้องการดูแลรักษาผิวกระเบื้อง และลดปัญหาการเกิดคราบซึมเปื้อน หรือ เชื้อรา ตะไคร่น้ำ ควรลงน้ำยาเคลือบเงาผิวตอนกรีตบนแผ่นกระเบื้อง หลังจากที่ทำความสะอาดผิวหน้ากระเบื้อง และรอจนแผ่นกระเบื้องแห้งสนิทดีแล้ว
3. ควรมีการลงน้ำยาเคลือบเงาผิวคอนกรีตทุกปี ทั้งนี้ความถี่ในการลงน้ำยาขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ที่ใช้งาน ซึ่งอาจเร็ว หรือซ้ำกว่าระยะเวลาที่กำหนดได้ตามความเทมาะสม